วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไขข้อข้องใจ Blu-Ray Disc


ถ้าจะให้พูดถึงหนังแผ่นที่มีความคมชัดที่สุดในตอนนี้  ก็ต้องนี่เลย!! แผ่นบลูเรย์  ที่ตอนนี้มีวางขายแล้วตามห้างสรรพสินค้า และร้านหนัง  ทำไมต้องแผ่นบลูเรย์  บลูเรย์คืออะไร  บลูเรย์มีดีอย่าง บลูเรย์มันมาจากไหน  วันนี้เราจะเอาประวัติคร่าวๆ ของเจ้าบลูเรย์มาฝากกันนะครับ


แผ่นบลูเรย์ หรือ Blu-Ray Disc มีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดีแต่มีความจุของข้อมูลมากกว่าแผ่นดีวีดีถึง 5 เท่าทำให้สามารถบรรจุข้อมูลภาพและเสียง ที่มีความคมชัดสูงได้ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้วิดีโอความคมชัดสูง (High Definition Video) ซึ่งมีจำนวนของพิกเซล (Pixel) หรือความละเอียดภาพสูงมาก

แผ่นบลูเรย์มี 3 แบบดังนี้
แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc Rom Single Layer แบบหน้าดียว มีความจุ 25 GB
แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc Rom Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB
แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc Rom Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB

ประวัติของแผ่นบลูเรย์
แผ่นบลูเรย์ ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 1996 โดยนายชูจิ นากามูระ (Shuji Nakamura) ซึ่งเป็นนักวิจัยของ Nichia Corperation ต่อมามาตราฐานของบลูเรย์ถูกพัฒนาโดยกลุ่มบริษัทชั้นนำต่างๆ เช่น โซนี่ แอปเปิ้ล พานาโซนิก ซัมซุง
ไพโอเนียร์ เดลล์ ฟิลิปส์ ชาร์ป ซึ่งรวมกลุ่มกันเรียกว่า Blu-Ray Disc Association จากการพัฒนาในครั้งนี้ ทำให้แผ่นบลูเรย์มีประสิทธิภาพมากกว่าแผ่นดีวีดีมาก ทั้งในด้านของข้อมูลที่สามารถจุได้มากกว่าถึง 5 เท่าและเนื่องจากการที่แผ่นบลูเรย์ สามารถเก็บข้อมูลได้ที่ความหนาแน่นสูงกว่า ทำให้ความเร็วของรอบการหมุนมากกว่าแผ่นดีวีดี
อายุการใช้งานของแผ่นบลูเรย์ จะนานกว่าแผ่นดีวีดี เนื่องจากได้รับเกราะชั้นดีจากทาง TDK หรือที่เรียกว่าการทำ ฮาร์ดโค้ด (Hard Coat) ซึ่งมีผลทำให้สามารถป้องกันความเสียหายอันเกิดจากรอยขีดข่วนได้ดี อีกทั้งยังทนต่อรอยนิ้วมือด้วย

หลักการทำงาน
แผ่นบลูเรย์ เป็นชื่อที่มาจากแสงเลเซอร์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล คือแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน (Blue Laser) ที่มีความยาวคลื่นเพียง 405 นาโนเมตรสั้นกว่าเลเซอร์สีแดง (Red Laser) ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลสำหรับแผ่นดีวีดี ซึ่งเลเซอร์สีแดงนี้มีความยาวคลื่นถึง 650 นาโนเมตร โดยเลนส์ที่ใช้ในการบันทึกแผ่นบลูเรย์นี้ จะใช้เลนส์สำหรับบันทึกที่มีขนาดเพียง 0.85 มิลลิเมตรและมีโครงสร้างแบบ Optical transmittance protection disc layer ที่มีความหนาเพียง 0.1 มิลลิเมตร

ในส่วนของความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่นบลูเรย์จะมีค่า 1x , 2x และ 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิตต่อวินาที ดังนั้น 4x จะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิตต่อวินาที เนื่องจากแผ่นบลูเรย์สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 25 กิกะไบต์จึงทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ได้ถึง 13 ชั่วโมงในขณะที่แผ่นดีวีดีบันทึกได้เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้นและยังสามารถบันทึกวิดีโอความคมชัดสูงได้ถึง 2.5 ชั่วโมง ซึ่งแผ่นดีวีดีบันทึกได้ไม่ถึง 30

แต่อยากจะขอร้องผู้อ่านทุกท่านนะครับ ว่าถ้าหากจะซื้อหนังมาดูสักแผ่น  ก็ควรจะเป็นแผ่นแท้ มีลิขสิทธิ์นะครับ อย่าไปอุดหนุนของเถื่อน แผ่นผีกันเลยนะครับ   เห็นใจคนทำหนังเค้าครับ เราควรให้กำลังใจเค้าซะหน่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น